ขั้นตอนการสร้างแอปพลิเคชัน(Application) ตั้งแต่ต้น จนจบ มีขั้นตอนอะไรบ้าง
แอปพลิเคชัน(Application) เป็นช่องทางหนึ่งที่หลายๆธุรกิจใช้สื่อสารและให้ข้อมูลกับลูกค้า เพราะในปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์พกพาอย่าง สมาร์ทโฟน (Smart phone) และแท็บเล็ต (Tablet) กลายเป็นส่วนสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน
แต่การสร้างแอปพลิเคชัน(Application) ให้ประสบความสำเร็จในวงการธุรกิจนั้นไม่ใช่แค่อยากมีก็สร้างได้ แต่ต้องอาศัยการวางแผนและการดำเนินการอย่างรอบคอบ กว่าจะกลายเป็นแอปพลิเคชัน ต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง
ขั้นตอนการสร้างแอปพลิเคชัน(Application)
1.วิจัยตลาดและกำหนดเป้าหมาย
- ศึกษาตลาด: วิเคราะห์แนวโน้มในตลาดเป้าหมาย สำรวจแอปที่คล้ายกันในตลาดเพื่อหาโอกาส และสร้างจุดแข็งของแอป
- ระบุเป้าหมาย: กำหนดกลุ่มเป้าหมายของแอป และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงวัตถุประสงค์ของแอปว่าช่วยแก้ปัญหาหรือให้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายอย่างไร
2. วางแผนและกำหนดฟีเจอร์หลัก
- วัตถุประสงค์: กำหนดวัตถุประสงค์และฟีเจอร์หลักของแอป โดยต้องมุ่งเน้นที่การแก้ปัญหาของผู้ใช้
- ทำ Roadmap: สร้างแผนที่ชัดเจนของการพัฒนาแอป โดยแบ่งเป็นเฟสหรือขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการเปิดตัว
3. ออกแบบ UX/UI
- ออกแบบ UX (User Experience): การออกแบบที่มุ่งเน้นให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดี ใช้งานง่าย และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
- ออกแบบ UI (User Interface): การออกแบบหน้าตาและอินเตอร์เฟซของแอปให้ดึงดูด สวยงาม และสอดคล้องกับแบรนด์
4. สร้างแอปพลิเคชัน (App Development)
- การเขียนโค้ด (Coding): โดยนักพัฒนาจะต้องมีความรู้กับทักษะทางภาษาโปรแกรม (Programming Languages) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น Java, Kotlin, React, Native และจะทำงานใกล้ชิดกับนักออกแบบกับนักวิเคราะห์ เพื่อให้แน่ใจว่าการเขียนโค้ดจะเป็นไปตามแผน ข้อกำหนด และการออกแบบที่วางไว้
- ทดสอบแอป (Application Testing): ก่อนที่จะเผยแพร่แอปพลิเคชันสู่สาธารณะ จะต้องผ่านขั้นตอนการทดสอบอย่างละเอียด และถูกต้องตามที่เราออกแบบ หรือถูกต้องตาม Reqirement หรือไม่ โดยทีม QA จะมีการ Test case, Action Step เมื่อ User มาใช้งาน
5. เผยแพร่แอปพลิเคชัน (Deployment)
- เปิดตัวแอป: เมื่อทดสอบระบบและปรับปรุงแอปพลิเคชันจนมั่นใจแล้ว ถึงจะเปิดตัวแอปอย่างเป็นทางการใน App Store หรือ Google Play และตรวจสอบการตอบรับจากผู้ใช้
- การตลาดและโปรโมชัน: สร้างแคมเปญการตลาดที่มุ่งเน้นการเพิ่มการรับรู้และการดาวน์โหลด รวมถึงการใช้ SEO, Social Media, และ Influencer Marketing
6. วิเคราะห์และติดตามผล
- เก็บข้อมูลการใช้งาน: ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ (Analytics Tools) เพื่อติดตามการใช้งานของผู้ใช้และการทำงานของแอป
- อัปเดตและพัฒนา: ปรับปรุงแอปตาม feedback และแนวโน้มในตลาด อัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ยังคงสนใจ
ขั้นตอนการสร้างแอปพลิเคชัน(Application) อาจจะดูเยอะและหลายขั้นตอน และมีการต้องตัดสินใจสำคัญๆมากมายระหว่างขั้นตอนนั้น แต่ถ้าทำออกมาได้ดีก็จะทำให้แอปประสบความสำเร็จไม่ยาก ดังนั้นการที่จะเลือกบริษัทซักแห่งมาสร้างแอปพลิเคชัน(Application) นอกจากจะดูในเรื่องของราคาแล้ว จะต้องเลือกจากความเชี่ยวชาญของนักพัฒนา และ Tech Stack ต่างๆที่บริษัทนั้นๆเลือกใช้อีกด้วย เพื่อให้แอปพลิเคชัน(Application) ที่เราสร้างขึ้นมานั้น มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากที่สุด
สามารถปรึกษากับ CODEMONDAY ได้ฟรี! โดยเราทำได้ทั้ง Web Application และ Mobile Application สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างตรงจุดไม่ว่าจะมีไอเดียอยู่แล้วหรือไม่ หรือมีไอเดียแล้วแต่ไม่แน่ใจว่าสามารถทำได้จริงไหม CODEMONDAY มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำตอบกับคุณได้โดยตรง
Email: contact@codemonday.com
Tel: 081-805-9378 , 061-517-6466
บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากมีแอพฯ ของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? รับจ้างทำแอพลิเคชั่น ช่วยคุณได้!
5 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการพัฒนาแอปพลิเคชัน